
B.S.A.A.
โพสต์: 1266
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.ค. 2007, 20:21
ที่อยู่: เชียงใหม่ครับ ต.ฟ้าฮ่าม อ.เมือง
บันทึกความทรางจำ เมืองแห่งความเศร้า..RACCOON CITY


สวัสดีครับ..นี่เป็น1ในผลงานที่ผมภาคภูมิ ใจ ที่จะทำ ตั่งแต่ผมเล่นเกมใบโอ 2-3 และภาค ob1-2ซึ่งเราได้เล่นเป็น8คนที่รอดชีวิต ทำให้ผมเกิดอาการ ประทับใจและเศร้าๆมากที่ได้รับรู้หนทางการเอาตัวรอดของพวกเขา และประชาชนในเมืองที่ ต้องต่อสู้กับการคุกคามครั่งใหญ่...ที่เกิดขึ่น ผมต้องรอบรวมข้อมูลมาให้ได้.. ตอนนี่เรามาทำการรู้จักกับเมื่องที่ชื่อว่า RAccoon city ตอนนี่เรามาทำความรู้จักกันดีกว่า (เศร้าสุด..


ที่ตั้งและเศรษฐกิจ
แรคคูนซิตี้มีต้นแบบมาจากเมืองแบบอเมริกาตะวันตกตอนกลางด้วยอุตสาหกรรมและการค้าที่เป็นแบบฉบับในเขตอเมริกาเหนือของสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจของแรคคูนซิตี้ส่วนใหญ่ถูกขับเคลื่อนโดยอัมเบรลลาคอร์ป บริษัทบริจาคเงินให้กับโครงการต่างๆ ของเมือง ซึ่งสร้างภาพพจน์ในด้านบวกต่อประชาชนของแรคคูนซิตี้ ประชากรอย่างน้อย 30% ถูกจ้างโดยบริษัทต่างชาติ คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะใส่ใจต่อกิจกรรมของบริษัทมากมายที่ผิดกฎหมาย และพวกเขาก็จะไปทำงาน เช่นการขายยาและเวชภัณฑ์
ประชากรของเมืองมีมากกว่า 100,000 คน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนท้ายของ Resident Evil 3 และในภาพยนตร์ภาคแรกว่ามีถึง 853,200 คน คำบรรยายของมันซึ่งกล่าวถึงเมืองทางตะวันตกและอยู่ในภูเขาก็น่าจะตั้งอยู่ที่มอนทาน่าหรือโคโลราโด โดยบางส่วนน่าจะอยู่ที่เมืองโบลเดอร์ โคโลราโด
เหมือนกับแรคคูนซิตี้ โบลเดอร์เป็นเมืองที่มีประชากร 100,000 คนซึ่งรายล้อมไปด้วยภูเขาและป่ากว้างใหญ่ และซึ่งเป็นบ้านของเทคโนโลยีชั้นสูงรวมไปถึงสถาบันแห่งชาติทางมาตรฐานและเทคโนโลยี (NIST) และหน่วยงานบริหารทางทะเลและบรรยากาศแห่งชาติ ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ของโบลเดอร์ โคโลราโด
อย่างไรก็ตามเทือกเขาอาร์คเลย์ ซึ่งอยู่ในฉากเปิดเรื่องของ Resident Evil 0 และภาคต่อ เหมือนกับที่อยู่ในภาพวาดในห้องพักผู้ป่าวยจากเรื่อง Resident Evil 3 ไม่มีส่วนใดเหมือนเทือกเขาร็อกกี้เลย และโบลเดอร์ก็อยู่ห่างจากเดนเวอร์เพียง 30 ไมล์เท่านั้น ไม่เหมือนแรคคูนซิตี้ซึ่งเกือบจะเป็นเมืองโดดเดี่ยว ภาพของเทือกเขาอาร์คเลย์ทั้งสามภาพดูจะคล้ายกับเทือกเขาแอพพาลาเชี่ยนซึ่งครอบคลุมเนื้อที่เกือบทั้งหมดของเพนซิลวาเนีย นั้นเป็นเหตุผลทำให้หลายคนเชื่อว่าแรคคูนซิตี้นั้นได้แบบมาจากเพนซิลวาเนีย
เมืองพอตสวิลล์ในเพนซิลวาเนียในเขตสกายล์คิล คล้ายกับแรคคูนซิตี้ (ดูภาพเมืองพอตสวิลล์ได้ที่นี่) พอตสวิลล์เงียบสงบ (อยู่ห่าง 100 ไมล์ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของฟิลาเดลเฟีย เมืองใหญ่ที่ใกล้ที่สุด) และเมืองเล็กๆ นี่ก็รายล้อมไปด้วยภูเขาและป่าเท่านั้น อิทธิพลหลักของเกม Resident Evil หนังผีคืนชีพของจอร์จ โรเมอร์โร ก็ถูกถ่ายทำในเพนซิลวาเนีย
ในภาพยนตร์เรื่อง Resident Evil ภาค Apocalypse (ผีชีวะ 2 ผ่าวิกฤตไวรัสสยองโลก) แทร์รี่ โมราล ยืนอยู่หน้าแผนที่ภูมิอากาศซึ่งแสดงถึงส่วนตะวันออกของเพนซิลวาเนีย ในฉากที่ถูกตัดออกฉากแรกซึ่งปรากฏในตอนพิเศษของดีวีดี แทร์รี่ชี้ไปทางเทือกเขาอาร์คเลย์ในแผนที่ ซึ่งอยู่ในเขตที่น่าจะเกี่ยวกับโพโคนอสในชีวิตจริง จุดที่แรคคูนซิตี้ตั้งอยู่น่าจะเป็นฟิลาเดลเฟีย อย่างไรก็ตาม นี่เป็นสิ่งที่แสดงออกมาเพียงอย่างเดียวในภาพยนตร์ภาค 2 ซึ่งไม่น่าจะอ้างไปถึงเรื่องราวในเกม (ภาพยนตร์ถูกถ่ายทำในโตรอนโต เมืองออนทาริโอ โดยมีหลักฐานจากศาลากลางเมืองโตรอนโต และเพียงวินาทีเดียว ที่เห็นซีเอ็นทาวเวอร์ในเรื่อง)
เนื้อหาในวิดีโอเกมส์โดย เอสดี เพอร์รี่ก็กล่าวถึงแรคคูนซิตี้ว่าอยู่ในเพนซิลวาเนียเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เหมือนในภาพยนตร์ บทประพันธ์ก็ไม่ได้บันทึกโดยแคปคอมว่าเป็นส่วนหนึ่งของหนังชุดนี้ บริเวณที่รายล้อมไปด้วยป่าใหญ่ ทะเลสาป และเทือกเขาอาร์คเลย์ทางทิศเหนือน่าจะเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้กับเทือกเขาร็อกกี้หรือเทือกเขาแอพพาลาเชี่ยน
น่าสนใจมาก เมืองที่มีเหตุการณ์คล้ายกับแรคคูนซิตี้คือเมืองเซนทรัลเลีย ในเพนซิลวาเนีย ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีเหมืองธรรมชาติระเบิดอยู่จนถึงทุกวันนี้นับตั้งแต่ปี 1960 เซนทรัลเลียเป็นฉากสำคัญของภาพยนตร์ชุดเรื่องไซเล้นท์ฮิลล์ เกมชุดสยองขวัญที่โด่งดังอีกเรื่องหนึ่ง
อย่างไรก็ตามเพนซิลวาเนียก็ยังไม่จัดว่าเป็นเขตตะวันตกตอนกลางของสหรัฐ คำอธิบายแรคคูนซิตี้ว่าอยู่ทางตะวันตกตอนกลางอาจจะเป็นข้อผิดพลาดบางส่วนของแคปคอม เนื่องจากทางตะวันตกตอนกลางส่วนใหญ่เป็นเขตพื้นราบ ในขณะที่แรคคูนซิตี้แวดล้อมไปด้วยภูเขา ที่จริงแล้วน่าจะพูดได้ว่าแรคคูนซิตี้ตั้งอยู่ในแอพพาลาเชียหรือให้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็คือเพนซิลวาเนียตอนกลาง


ประวัติศาสตร์
แรคคูนซิตี้ถูกปกครองโดยนายกเทศมนตรีไมเคิล วอเรน ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 1987 และดำรงตำแหน่งอยู่ถึง 11 ปี วอเรนเคยเป็นวิศวกรรับผิดชอบด้านการติดตั้งระบบขนส่งด้วยรถรางไฟฟ้า และสร้างระบบไฟฟ้าของเมือง ในนโยบายหาเสียงของเขาที่จะพัฒนาเมืองให้ทันสมัย เขาตกลงกับอัมเบรลลาคอร์ปซึ่งเสนอให้เงินทุนในหลายต่อหลายโครงการรวมไปถึงสาธารณูปโภค งานสวัสดิการสังคมและด้านกฎหมาย นโยบายหาเสียงเป็นที่รู้จักในนามของโครงการ “ศตวรรษที่ 21 อันรุ่งโรจน์แห่งแรคคูนซิตี้” สนับสนุนโดยอัมเบรลลาคอร์ปอเรชั่น
ด้วยเหตุนี้เมืองได้กลายสภาพจากชุมชนชนบทสู่เมืองอุตสาหกรรมทีละเล็กทีละน้อย อย่างไรก็ตามการขยายตัวและความก้าวล้ำนำสมัยของเมืองมาพร้อมกับอัตราการก่ออาชญากรรมและการก่อการร้าย (กลุ่มผู้ก่อการร้ายน่าจะเป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านอัมเบรลลาซึ่งต้องการให้เจ้าหน้าที่หยุดการกระทำของอัมเบรลลาคอร์ป) กรมตำรวจแห่งแรคคูนซิตี้ (R.P.D.) ก่อตั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษและกู้ภัยชื่อ S.T.A.R.S ในปี 1996 เพื่อจะต่อสู้กับกระแสอาชญากรรม ด้วยความร่วมมือกันระหว่างวอเรนและอัมเบรลลา บริษัทเข้ามามีส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คน จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่าประชากรชาวแรคคูนซิตี้ส่วนใหญ่ทำงานให้กับอัมเบรลลา มีร้านต่างๆ มากมายภายใต้ชื่อของบริษัทและอิทธิพลของมันเป็นเรื่องที่กล่าวกันมากในสภาเมือง จริงๆ กลายเป็นผู้นำของเมืองโดยใช้นายกเทศมนตรีเป็นคนออกหน้า


เหตุการณ์เทือกเขาอาร์คเลย์
บทความหลัก ศูนย์วิจัยอาร์คเลย์
การฆาตกรรมเพื่อกินเนื้อมนุษย์ต่อเนื่องอันน่าแปลกประหลาดเกิดขึ้นในป่าของเทือกเขาอาร์คเลย์ทางตอนเหนือของแรคคูนซิตี้ เริ่มขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 1998 และต่อเนื่องในเดือนต่อๆ มา เหยื่อถูกพบและถูกกัดกินโดยสุนัขและสัตว์อื่น สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถระบุได้ ตำรวจแรคคูนซิตี้ล้มเหลวในการอธิบายหรือหยุดเหตุการณ์เหล่านี้ได้ และในเดือนกรกฎาคม S.T.A.R.S. เคลื่อนกำลังไปยังพื้นที่เพื่อสอบสวน เฮลิคอปเตอร์ของทีมบราโว่ได้ลงจอดในพื้นที่เนื่องด้วยเหตุผลทางเทคนิค และทีมอัลฟ่าถูกส่งเข้าช่วยเหลือ จากเจ้าหน้าที่ S.T.A.R.S. และกองหนุนจาก R.P.D.ทั้ง 12 คน รวมถึงนักบินผู้ช่วยซึ่งถูกส่งไปยังเทือกเขาอาร์คเลย์ มีเพียง 5 คนเท่านั้นที่รอดชีวิตกลับมา พวกเขารายงานว่าได้พบคฤหาสน์ซึ่งอัมเบรลลาคอร์ปอเรชั่นสร้างไว้ใช้เพื่อการทดลองผลิตอาวุธชีวภาพผิดกฎหมายด้วยสารเพื่อการกลายพันธุ์ที่เรียกว่าไวรัสที พื้นเต็มไปด้วยผลงานวิจัยซึ่งคลานยั้วเยี้ย รวมไปถึงพวกผีดิบ อย่างไรก็ตามคฤหาสน์นี้และหลักฐานทั้งหมดได้ถูกทำลาย และด้วยอิทธิพลของอัมเบรลลาในเมืองนี้และการทุจริตของผู้บัญชาการตำรวจไบรอัน ไอร์ออนส์ ด้วยค่าจ้างจากอัมเบรลลา ข้อเรียกร้องของผู้รอดชีวิตถูกเมินเฉยและไม่มีการสอบสวนอย่างเป็นทางการเกิดขึ้น


การระบาดของไวรัสครั้งที่ 2 เกิดขึ้นหลังจากนั้น 2 เดือน เมื่อวันที่ 22 กันยายน เมื่ออัมเบรลลาพยายามที่จะรับตัวอย่างไวรัสจีที่ทรงอานุภาพจากวิลเลียม เบอร์กิ้น หนึ่งในนักวิจัยสันโดษของบริษัท เบอร์กิ้นถูกทิ้งให้บาดเจ็บเจียนตายจนต้องฉีดตัวอย่างไวรัสจีให้กับตัวเอง โดยรู้ว่าจะเกิดผลในการกลายพันธุ์ ไม่น่าเชื่อคุณสมบัติในการกลายพันธุ์ของมันเอาชนะความเป็นมนุษย์ของเขาและเปลี่ยนเขาให้เป็นเครื่องจักรนักฆ่าที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้ เขาทำลายกองกำลังผสมเหล่าทัพซึ่งพยายามขโมยไวรัสจี และในระหว่างกระบวนการ ไวรัสทีก็ถูกปล่อยออกมา หลังจากนั้น หนูก็เป็นพาหะนำไวรัสทีกระจายไปทั่วเมือง นำไปสู่การระบาดแบบเต็มพิกัด (นักวิทยาศาสตร์ของอัมเบรลลาชื่อ เจมส์ มาร์คัส ปล่อยไวรัสที ที่คฤหาสน์หลังจากถูกลอบสังหารโดยอัลเบิร์ต เวสเคอร์และวิลเลียม เบอร์กิน มาร์คัสวางแผนจะปล่อยไวรัสไปสู่แรคคูนซิตี้แต่ก็ถูกฆ่าโดยรีเบคก้า แชมเบอร์ส และบิลลี่ โคน ในศูนย์ฝึกของอัมเบรลลาในเทือกเขาอาร์คเลย์
โดยที่ระลึกถึง “เหตุการณ์” นั้น เจ้าหน้าที่ของอัมเบรลลาเริ่มต้นที่จะอพยพคนในเมืองตามลำดับความสำคัญนั่นคือสมาชิกพิเศษก่อน เช้ามืดวันที่ 25 กันยายน กองกำลังทหารสหรัฐถูกเรียกตัวเพื่ออพยพพลเมืองและเริ่มตั้งเกราะกำบังรอบอาณาเขตของเมือง เพื่อให้ได้ผลโดยการกักบริเวณ กรมตำรวจแรคคูนซิตี้ (R.P.D.) พยายามที่จะปราบฝูงผีดิบที่เกิดจากไวรัสที โดยใช้เกราะกำบังและอาวุธหนักแต่ก็ล้มเหลว เรื่องนี้การกระทำของไบรอัน ไอร์อ้อนสไม่ได้ช่วยอะไร ไบรอันผู้ซึ่งพยายามขังพนักงานและชาวเมืองไว้ในสถานีตำรวจ กระจายอาวุธและวัตถุระเบิดไปรอบๆ ตึก และตัดการสื่อสารจากภายนอก สถานีตำรวจเองก็ถูกล้อมไว้ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน พนักงานพยายามครั้งสุดท้ายที่จะทำลายเหล่าผีดิบบนถนนในวันที่ 27 กันยายน แต่ก็ล้มเหลวเมื่อเครื่องกั้นถนนถูกทลายลงโดยเหล่าผีดิบ ผู้รอดชีวิตหลังจากถูกล้อมด้วยฝูงผีดิบหลายวันคงมีแต่พนักงานเพียง 2 คน อัมเบรลลายังส่งหน่วยต่อต้านอาวุธชีวภาพร้ายแรงต่อมนุษย์ (U.B.C.S.) เพื่อค้นหาและช่วยเหลือเหตุการณ์เมื่อวันที่ 26 - 27 กันยายน ซึ่งจบลงด้วยหายนะแก่ผู้รอดชีวิต หัวหน้าหน่วยถูกมอบหมายงานอย่างลับๆ ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับอาวุธชีวภาพของอัมเบรลลาในขณะเดียวกันก็ทำลายหลักฐานเกี่ยวกับอาชญากรรมด้วย
วันที่ 29 กันยายน เกือบทุกคนในเมืองถูกฆ่าโดยเหล่าสัตว์ประหลาดและอาวุธชีวภาพซึ่งถูกปล่อยออกมาจากห้องปฏิบัติการของอัมเบรลลา หรือถูกปล่อยไวรัสทีจนกลายเป็นผีดิบ เกราะกำบังของทหารที่รายล้อมเมืองเริ่มถูกทำลายในบางแห่ง ปล่อยให้ผู้มาเยือนไม่พึงประสงค์เข้ามาในเมือง และปล่อยให้ผู้รอดชีวิตเพียงน้อยนิดของแรคคูนซิตี้หนีออกมาได้
บางเวลาระหว่างคืนวันที่ 30 กันยายน จนถึงเช้าวันที่ 31 ตุลาคม รัฐบาลสหรัฐตัดสินใจถล่มเมืองแรคคูนซิตี้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ แม้อัมเบรลลาพยายามโน้มน้าวเหล่าหัวหน้าให้ถ่วงเวลาการสไตรค์ไว้ การผ่าตัด “จุดจบบาซิลลัส” และ “คำสั่ง XX” โดยคนงานของอัมเบรลลา ประกอบด้วยหัวรบนิวเคลียร์ความร้อนเดี่ยวซึ่งถูกปล่อยจากเครื่องบินทิ้งระเบิดวิถีไกล บริเวณทั้งหมดของแรคคูนซิตี้ถูกเผาให้เป็นเถ้าถ่าน ผีดิบถูกประมาณว่ามีถึง 100,000 ตัว สิ่งที่เหลือในแรคคูนซิตี้และบริเวณโดยรอบได้ถูกค้นหาและแยกประเภทโดยทั่วเผื่อว่าจะมีผู้รอดชีวิตและร่องรอยการถูกคุกคามด้วยอาวุธชีวภาพที่อาจหลงเหลือ โดยรัฐบาลสหรัฐและอัมเบรลลาคอร์ปอเรชั่นเมื่อต้นเดือนธันวาคม 1998 ปลายเดือนกุมภาพันธ์ปี 2000 การค้นหาและแยกประเภทเสร็จสิ้นลงพร้อมกับไม่พบผู้รอดชีวิตเลย แต่มีร่องรอยเล็กน้อยของไวรัสทีและไวรัสจีที่มีชีวิตถูกพบ ความเสียหายของแรคคูนซิตี้และบริเวณ 20 ไมล์โดยรอบถูกอธิบายว่าเป็นพื้นที่ถูกคุกคามด้วยอาวุธชีวภาพ และกลายเป็นพื้นที่หวงห้ามระดับสูงและมีเพียงเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐและอัมเบรลลาคอร์ปอเรชั่นเท่านั้นที่สามารถเข้าไปในพื้นที่นี้ได้ ดังที่ได้เห็นในตอนท้ายของ Resident Evil Outbreak พื้นที่ที่เคยเป็นแรคคูนซิตี้ถูกลบออกไปจากส่วนที่เหลือของโลก และอัมเบรลลาคอร์ปอเรชั่นสร้างศูนย์วิจัยและทดสอบในพื้นที่นั้น ทั้งหมดที่ได้รับรู้เกี่ยวกับศูนย์นี้คือมันใช้สำหรับการทดลองและทดสอบซึ่งได้รับการเฝ้าระวังเป็นอย่างดีเมื่อมีผู้บุกรุกหรือถูกคุกคามด้วยอาวุธชีวภาพ แต่ใน Resident Evil 4 เมื่ออัมเบรลลาอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลสหรัฐที่ยึดศูนย์ฯนี้ไว้ ศูนย์ถูกดำเนินการโดยกองทหารสหรัฐและถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดทั้งบริเวณประตูและพื้นที่โดยรอบเหมือนกับที่อัมเบรลลาเคยทำ



จุดจบของแรคคูนซิตี้
มีความสับสนบางอย่างในความหมายของการทำลายแรคคูนซิตี้เนื่องจากการพรรณนาที่แตกต่างกันในแต่ละเกมในชุด ใน Resident Evil 3 : Nemesis เป็นมิสไซล์เดี่ยว อาจจะเป็นนิวเคลียร์ความร้อนซึ่งถูกปล่อยมาจากเครื่องปล่อยมิสไซล์ระยะไกลหรือเครื่องบินทิ้งระเบิด และทำลายเมืองทั้งเมือง สัญญาณสีฟ้าที่เคลื่อนตัวพร้อมกับคลื่นสั้นถูกแปลรหัสเป็น EMP
ในเรื่อง Resident Evil Outbreak หัวรบนิวเคลียร์มากมายบินว่อนเหนือเมืองก่อให้เกิดหลุมระเบิดขัดแย้งกับอาวุธโบราณ เนื่องจากหลุมระเบิดนั้นลึกลงไปกว่าครึ่งไมล์ในบางที่ บางแห่งหลุมเกิดจากอาวุธโบราณแต่มิสไซล์ที่ปรากฏไม่มีแรงระเบิดมากพอจะทำให้เกิดหลุมใหญ่ขนาดนั้น ใน Resident Evil Outbreak ไฟล์ที่ 2 เห็นได้ชัดว่าจรวดมากมายถูกยิงมาจากเครื่องบินทางทหาร และ 2 ใน 4 เกือบจะสามารถฆ่าตัวละครหลักซึ่งกำลังหนีออกจากเมืองด้วยทางหลวงเมื่อเวลาเที่ยงคืน เกือบจะถูกตามทันจากการระเบิด โดยไม่เหมือนบทด้วยการใช้อาวุธโบราณมันห่างไกลจากอาวุธนิวเคลียร์จะเป็นไปได้ คลื่นความร้อนของอาวุธนิวเคลียร์จะเผาผู้รอดชีวิตให้เป็นเถ้าถ่านคารถ และถึงแม้พวกเขาจะรอดชีวิตก็จะตายเนื่องจากการแผ่รังสี อย่างไรก็ตาม ตัวแปรมากมายต้องถูกพิจารณาและอาจจะเป็นไปได้ที่รัฐบาลสหรัฐใช้วิธีเหล่านี้ทั้งหมดเพื่อจะแน่ใจว่าการทำลายแรคคูนซิตี้และไวรัสทีได้เสร็จสมบูรณ์จริงๆ
การทำลายแรคคูนซิตี้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ข้อความที่พบตลอดเรื่อง Resident Evil แนะว่าการติดเชื้อไวรัสทีเกิดขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมและเดือนกันยายนปี 1998 ถ้าเป็นจริง ก็หมายถึงไวรัสถูกปล่อยจากเทือกเขาอาร์คเลย์ด้วยการทำลายคฤหาสน์และกระจายตัวสู่เมือง บางทีอาจจะเป็นเชื้อโรคที่ลยมาในอากาศหรือจากสัตว์ที่ติดเชื้อก็ได้ บางคนแย้งว่าหลังจากการหกครั้งแรกคือจุดจบของแรคคูนซิตี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การรั่วไหลครั้งที่ 2 ในเดือนกันยายนกลับเป็นตัวเร่งการระบาดขึ้นอีกครั้ง
http://www.youtube.com/watch?v=TqZP0B50iFk ลองเข้าไปดูนะครับ..

แผนที่เต็มๆของตัวเมืองครับ